วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ออฟฟิศซินโดรม โรคสุดฮิตมนุษย์ออฟฟิต หรือคนทำงานประจำ

ออฟฟิศซินโดรมมหันตภัยสุขภาพของมนุษย์ออฟฟิต
ออฟฟิศซินโดรม โรคสุดฮิตมนุษย์ออฟฟิต หรือคนทำงานประจำ

มนุษย์ออฟฟิต หรือ คนทำงานประจำ ปัญหาของพนักงานออฟฟิตส่วนใหญ่คงไม่พ้นปัญหาการปวดหัว คอ บ่า ไหล่  บางคนคิดว่าพักสักแปบคงหาย แต่ปรากฎว่ายิ่งนานวัน ปัญหายิ่งเรื้อรัง ทั้งอาการยังคงรุนแรงถึงขั้นยกแขนไม่ขึ้น ขยับคอไม่ได้ไปเลยก็มี!

สัญญาณเตือนข้างต้น คือ อาการโรคยอดฮิตของคนทำงานออฟฟิต ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) พบบ่อยในกลุ่มคนทำงานในสำนักงาน หรือ ทำงานประออฟฟิศ ทำให้ต้องนั่งนานหลายชั่วโมง และไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย พอปล่อยให้นานวันเข้าก็จะส่งผลให้ กล้ามเนื้ออักเสบและมีอาการปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ เช่น ปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ แขน หรือข้อมือ

จากการสำรวจพนักงานออฟฟิศ พบว่าส่วนใหญ่ต้องปรึกษาแพทย์ด้วยอาการต่างๆ  นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 16-24 ปี มีความเสี่ยงสูงถึงร้อย ละ 55 การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ สูงกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบท มีโอกาสสูงถึงร้อยละ 80 คุณ ชรีพรรณ์ เทียมรัตน์ ผู้บริหารสถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ กล่าวว่า จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่มักคิดเพียงแต่ทำให้ภายนอกดูดี แต่หลงลืมเรื่อง โครงสร้างร่างกายภายในหรือท่าเดิน ยืนนั่ง ซึงมีผลโดยตรงต่อโครงสร้างร่างกาย คนทำงานออฟฟิศส่วนใหญ่มีปัญหาออฟฟิศซินโดรม แต่ถ้าเราหันมาใส่ใจเรื่องท่ายืน นั่ง นอน ทำให้โครงสร้างร่างกายอยู่ในภาวะที่สมดุล ก็จะไม่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ

ไม่ใช่เพียงแค่ขาดการเคลื่อนไหว ออฟฟิศซินโดรมยังหมายรวมไปถึงกลุ่มอาการในเรื่องของระบบทางเดินหายใจและภูมิ แพ้ ผลจากการอยู่ในออฟฟิศที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เครื่องปรับอากาศที่ไม่สะอาด รวมไปถึงสารเคมีจากหมึกของเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์ และเครื่องพิมพ์เอกสาร ซึ่งวนเวียนอยู่ภายในห้องทำงานอีกด้วย
ออฟฟิศซินโดรม โรคสุดฮิตมนุษย์ออฟฟิต หรือคนทำงานประจำ

 
อาการของออฟฟิศซินโดรมนี้แม้จะมีวิธีการรักษาแต่ก็ทำให้เสียทั้งเงินและเวลา คงดีกว่านี้ถ้าเรารู้วิธีรับมือกับพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้
    กะพริบตาบ่อย ๆ
    ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก ๆ 1 ชั่วโมง
    พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุก ๆ 10 นาที
    เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที
    นั่งหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้
    วางข้อมือในตำแหน่งตรง ไม่บิด หรืองอข้อมือขึ้นหรือลง

ออฟฟิศซินโดรม โรคสุดฮิตมนุษย์ออฟฟิต หรือคนทำงานประจำ

เราควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอุปกรณ์หลักที่ต้องใช้แล้ว ควรให้ความสำคัญเรื่องออกกำลังกายด้วย โยคะเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพราะสามารถยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ได้ดี รวมถึงการออกกำลังกายด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของสุขภาพและกล้ามเนื้อ เพียงเท่านี้ออฟฟิศซินโดรมก็ไม่มากล้ำกรายให้วุ่นวายแล้วครับ


ข้อมูลจาก zoneparttime

ข้อดีและข้อเสียจากการยืนทำงาน


ข้อดีและข้อเสียจากการยืนทำงาน
การยืนทำงานสามารถช่วยลดน้ำหนักได้และโรคเบาหวานได้


ศาสตราจารย์วิชาสาธารณสุขศาสตร์นิวซีแลนด์พบในการวิจัยว่า ถ้าหากยืนพิมพ์ดีดและเคลื่อนไหวตอนทำงาน จะสามารถลดน้ำหนักตัวลง และทำให้ห่างไกลโรคเบาหวานออกไปได้

ศาสตราจารย์แกรนท์ โชฟิลก์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโอ๊กแลนด์ ได้ตั้งกฎขึ้นว่า อย่านั่งหลังจากที่ศึกษาวิจัยพฤติกรรมการนั่งๆ นอนๆ พบว่า หากคนเราเคลื่อนไหวขณะทำงานไม่อยู่นิ่งจะทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้มากถึงปีละ 2กก. และยังทำให้มีท่าทางดีขึ้นด้วย

เขาได้ศึกษาขั้นต้นกับพนักงาน 4คน โดยใช้เก้าอี้ปรับเอนได้ และวัดพลังงานที่ใช้เมื่อตอนยืน นั่ง และนอน เมื่อตอนทำงานเทียบกันดูพบว่า หากยืนทำงานจะใช้พลังงานชั่วโมงละ 84กิโลแคลอรี มากกว่าตอนนั่งพิมพ์ดีดถึงร้อยละ 13และมากกว่านอนทำงานร้อยละ 16นอกจากนั้นยังพบด้วยว่า หากยืนทำงานนานพอ ยังจะช่วยเลี่ยงการสร้างเอนไซม์ ซึ่งจะไปแหย่รังแตนของโรคเบาหวานแบบที่ 2ขึ้นอีกด้วย แต่จะยืนทำงานอย่างไรให้ไร้โรค!! ยืน เป็นท่าทางที่ใช้ในชีวิตประจำวันและใช้มากในกลุ่มคนที่ต้องยืนประกอบอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น การยืนขายของ การยืนเฝ้ายาม  หรือการยืนทำงานในโรงงาน

จากการสอบถามพนักงานขายสินค้าในห้าง (โดยสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน กระทรวงแรงงาน) พบว่าร้อยละ 70 มีอาการปวดบริเวณน่อง ตามด้วยเท้า (ร้อยละ 36) ต้นขา (ร้อยละ 33) หลัง (ร้อยละ 27) และส่วนอื่นๆ เช่น ไหล่ และหลังส่วนบนอีกเล็กน้อย โชคดีที่ พนักงานเหล่านี้เป็นคนหนุ่ม สาว ไม่มีใครมีอาการมากจนต้องเข้ารับการรักษา แต่น่าเป็นห่วงที่มีอาการปวดอยู่หลายแห่ง และยังต้องประกอบอาชีพนี้อีกนานอาจทำให้อาการลุกลามเป็นมากขึ้นและเรื้อรังได้


ผลเสียจากการยืนเป็นเวลานาน

1. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่องและต้นขา ขณะยืนกล้ามเนื้อน่องแบกรับน้ำหนักตัวทั้งตัว ปกติแล้วกล้ามเนื้อน่องมีความแข็งแรงมาก เราสามารถยืนขาเดียว หรือเขย่งส้นเท้ายกตัวขึ้นลงได้ แต่กล้ามเนื้อน่องมีจุดอ่อนที่สำคัญ คือเป็นกล้ามเนื้อที่ล้าและปวดเมื่อยได้ง่าย เนื่องจากกล้ามเนื้อน่องมีเลือดมาเลี้ยงน้อย และการไหลกลับของหลอดเลือดดำต้องอาศัยการหดตัวแบบเป็นจังหวะ (มีการหดตัวและคลายตัวสลับกันไป) ถ้าต้องทำงานแบบยืนอยู่นิ่ง กล้ามเนื้อน่องต้องเกร็งตัวตลอดเวลา จะทำให้มีของเสียคั่งค้างมาก เกิดอาการปวดเมื่อยได้ การใส่รองเท้าส้นสูงจะทำให้กล้ามเนื้อน่องทำงานมากขึ้น เนื่องจากรองเท้าส้นสูงมีผลให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายตกไปทางด้านหน้ามากขึ้น กล้ามเนื้อน่องที่อยู่ทางด้านหลังต้องคอยดึงร่างกายไม่ให้ล้มไปข้างหน้า ดังนั้น การใส่ส้นสูงร่วมกับการยืนนานมีผลทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่องได้ง่ายยิ่งขึ้น และยังมีผลกระทบต่อข้อเข่าและหลังได้ นอกจากกล้ามเนื้อน่องแล้ว กล้ามเนื้อต้นขาก็อาจมีอาการปวดเมื่อยได้เช่นเดียวกัน หน้าที่หลักของกล้าม เนื้อนี้คือการพยุงหัวเข่าไม่ให้พับลงในขณะยืน ขณะยืนนานกล้ามเนื้อต้นขาต้องเกร็งตัวตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการล้าสะสมของกล้ามเนื้อ และเกิดอาการปวดที่ต้นขาได้

2. อาการปวดเมื่อยเท้า กล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ที่อยู่ในอุ้งเท้าเราต้องทำงานหนัก เพื่อให้เท้าเกาะติดกับพื้นหรือพื้นรองเท้า ถ้ากล้ามเนื้อเท้าต้องทำงานแบบคงค้างอยู่นานๆ จากการยืนนาน จะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า เนื่องจากการไหลเวียนเลือดในกล้ามเนื้อไม่ดี มีของเสียคั่งค้างมาก ประกอบกับกล้ามเนื้ออุ้งเท้าเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก จึงทำให้ล้าได้ง่ายกว่ากล้ามเนื้อมัดอื่น อาการปวดเมื่อยของเท้า อาจมาจากสาเหตุที่เนื้อเยื่อบริเวณฝ่าเท้าถูกน้ำหนักตัวกดทับอยู่นาน โดยเฉพาะบริเวณส้นเท้า ตั้งแต่ผิวหนังบริเวณส้นเท้า ชั้นไขมัน และเยื่อรองฝ่าเท้า อาการปวดที่พบได้บ่อยคือ ฝ่าเท้าอักเสบหรือรองช้ำ มักพบในอาชีพที่ต้องยืนนาน เช่น พนักงานขายของ ครู พยาบาล หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน อาการที่พบได้บ่อยคือ จะเจ็บมากขณะเท้าเหยียบพื้นเมื่อตื่นนอนตอนเช้า หลังจากก้าวได้ 2-3ก้าวอาการจะลดลง

3. หลอดเลือดขอด พบได้บ่อยในอาชีพที่ต้องยืนทำงานนานๆ หญิงตั้งครรภ์ และคนอ้วน สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดหลอดเลือดขอดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยเสริมให้เกิดหลอดเลือดขอดคือการยืนนาน และการกดทับของหลอดเลือดดำใหญ่บริเวณต้นขา เช่น จากความอ้วน หรือการตั้งครรภ์ เมื่อยืนนานเลือดดำจากบริเวณเท้าและน่องจะไหลกลับได้ลำบากเพราะแรงโน้มถ่วง จะดึงเลือดลงสู่เท้า ในหลอดเลือดดำจะมีลิ้นเหมือนเป็นประตูเปิดทางเดียวกั้นมิให้เลือดไหลกลับสู่ เท้า การขยับขาและน่องเป็นบางครั้งจะทำให้เกิดแรงกดบริเวณรอบหลอดเลือดดำช่วยปั๊ม เลือดกลับได้อีกแรงหนึ่ง แต่ถ้าเรายืนนิ่งไม่ขยับหรือขยับน้อยมาก เลือดจะไปท้นอยู่บริเวณลิ้นที่กล่าวมา เนื่องจากผนังหลอดเลือดดำนั้นจะบางมาก ทำให้แรงดันที่เกิดจากเลือดที่ไปท้นอยู่บริเวณลิ้นหลอดเลือดดำดันผนังให้ โป่งออก กรณีเป็นน้อยๆ อาจมองเห็นคล้ายใยแมงมุม เมื่อเป็นมากขึ้นจะเห็นหลอดเลือดโป่งชัดเจน หลอดเลือดขอดถ้าเป็นน้อยอาจดูไม่สวยงาม มีอาการปวดน่องและอาจเป็นตะคริวได้ในเวลากลางคืน แต่กรณีที่เป็นมากจะทำให้สีของผิวบริเวณนั้นเปลี่ยนไป ผิวหนังเป็นมันและตึง และอาจมีอาการบวมของเท้าได้ง่าย ถ้าเป็นแผลบริเวณนั้นจะรักษาหายยาก

4. ปวดเข่าและหลัง การยืนปกติทำให้เกิดแรงกดที่หัวเข่า เพราะน้ำหนักตัวจะผ่านลงไปที่เข่า และขณะยืนกล้ามเนื้อหน้าขาและด้านหลังขา (ใต้ขาอ่อน) จะต้องทำงานประสานกันเพื่อมิให้เข่าพับลงกล้ามเนื้อน่องและกล้ามเนื้อบริเวณ หน้าแข้ง และมิให้ตัวล้มไปข้างหน้า การยืนนานจะทำให้กล้ามเนื้อทั้ง 2 กลุ่มเกิดอาการเมื่อยล้าได้ เมื่อเมื่อยล้าร่างกายจะพยายามทำการล็อกหัวเข่า โดยการเหยียดเข่าให้ตรงเพื่อให้กล้ามเนื้อทำงานลดลง การทำเช่นนี้มีผลทำให้เข่าแอ่น มีแรงกดที่ผิดปกติที่หัวเข่า ทำให้ปวดบริเวณหัวเข่าได้ง่าย และการยืนในลักษณะนี้จะมีผลทำให้หลังแอ่นมากขึ้น มีผลทำให้ปวดเมื่อยหลังได้เช่นเดียวกัน

จะป้องกันผลเสียจากการยืนนานได้อย่างไร?
         คำตอบที่ง่ายที่สุดและตรงไปตรงมา คือ อย่ายืนนาน แต่อย่างไรก็ตามการนำไปปฏิบัติจริงนั้นอาจทำได้ยากถ้าต้องประกอบอาชีพที่ ต้องยืนทำงาน มีข้อแนะนำหลายอย่างที่สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ดังนี้

1. ยืนบนพื้นนิ่ม พื้นที่นิ่มลดแรงกดที่เท้าได้ อาจใช้พรมเช็ดเท้านิ่มๆ ไม่จำเป็นต้องไปซื้อพรมสำหรับยืนที่มีราคาแพง สามารถทดสอบพรมได้ด้วยการถอดรองเท้ายืนบนพรมนั้น หลังจากนั้นลองยืนเท้าเดียว ถ้ารู้สึกว่าสบายเท้าและยืนได้มั่นคงถือว่าใช้ได้

2. ใส่รองเท้าที่มีพื้นนิ่มและหลวมเล็กน้อย รองเท้าที่มีพื้นนิ่มช่วยลดแรงกดไปที่เท้าได้เช่นเดียวกับพื้นที่นิ่ม ส่วนการที่ต้องเลือกรองเท้าหลวมเพราะตกเย็นเท้าของท่านอาจบวมได้เล็กน้อยจากการยืนนาน

3. ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูงในการทำงาน ในกรณีที่เจ็บส้นเท้ามาก อาจใส่รองเท้าส้นสูงได้แต่ไม่เกิน 2 นิ้ว เพื่อช่วยลดแรงกดที่ส้นเท้า

4. ยืนเท้าโต๊ะ ให้ยืนเท้าโต๊ะสูงหรือตู้ขายสินค้าโดยใช้แขนหรือศอกรับน้ำหนักตัวทางด้านหน้า สลับกับการใช้ก้นหรือหลังพิงผนังเป็นครั้งคราว เพื่อลดน้ำหนักกดที่กระทำต่อหลังและเท้า

5. พักการยืนบ่อยๆ หย่อนขาข้างหนึ่ง หรืออาจใช้ที่วางเท้าเป็นบล็อกสูงจากพื้นประมาณ 4-6 นิ้ว

6. ใช้เก้าอี้แบบกึ่งนั่งกึ่งยืน ในกรณีของพนักงานเคาน์เตอร์หรือการทำงานในโรงงาน

7. ให้ยืนสลับนั่ง ถ้างานที่ทำสามารถทำได้ทั้งในขณะยืนและนั่ง ให้ยืนสลับนั่ง แต่ต้องจัดสภาพงานให้เหมาะสม เช่น โต๊ะยืนทำงานไม่ควรเตี้ยเกินไป จนต้องก้มหลัง อาจจัดโต๊ะให้ทำงาน 2 ชุด คือ ชุดยืนและนั่งทำงาน แล้วให้ทำงานสลับหน้าที่กันเป็นระยะๆ

8. เมื่อรู้สึกเมื่อย ให้เดินไปมาสัก 2-3 นาที จึงค่อยนั่งลง ยกขาทั้ง 2 ข้างพาดบนที่นั่งของเก้าอี้อีกตัวหนึ่ง ให้เท้าอยู่สูงประมาณระดับเข่า เพื่อช่วยเลือดจากขากลับเข้าสู่หัวใจดีขึ้น ป้องกันหลอดเลือดขอด มีโอกาสพักอย่ายืนคุยให้นั่งยกขาพาดเก้าอี้ อาจจะกระดก ปลายเท้าสลับกันซ้าย ขวาร่วมด้วย

9. ยันเท้ากับกำแพง กลับถึงบ้านให้นอนเอาเท้ายันกับกำแพงให้เท้าอยู่สูงจากพื้นประมาณครึ่งเมตร แล้วกระดกปลาย เท้าขึ้นสลับกันทั้ง 2 ข้าง ทำประมาณ 10 นาที ออกกำลังด้วยการเดิน วิ่ง หรือว่ายน้ำ เป็นเวลา 15-20 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เพื่อช่วยการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงขา พักผ่อนด้วยการนอนให้พอเพียงอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง สำหรับการออกกำลังกายเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องยืนทำงานนานๆ

(ขอขอบคุณฝ่ายการยศาสตร์ สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน กระทรวงแรงงาน ที่ได้กรุณาเอื้อเฟื้อข้อมูลที่เป็นประโยชน์)