วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ซิงค์ แร่ธาตุสังกะสี (Zinc ; Zn) สร้างสเปิร์ม ทำให้ไม่เป็นหมัน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ZINC
ซิงค์ แร่ธาตุสังกะสี (Zinc ; Zn)
ซิงค์มาจากไหน

          สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญ ซึ่งพบได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย ในร่างกายมนุษย์จะประกอบไปด้วยซิงค์ประมาณ 1.5-2.5 กรัม ถึงแม้ว่าในแต่ละวันเราจะต้องการซิงค์ในปริมาณน้อย แต่ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับซิงค์ทุกวัน

          หน้าที่ของซิงค์ที่สำคัญที่สุดคือ ช่วยสังเคราะห์ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ ซึ่งจะทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ การซ่อมแซมเซลล์ และการเจริญเติบโตของเซลล์

          ซิงค์จะมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ดังนั้นจึงพบซิงค์มากในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ตับ ไข่ และอาหารทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหอยนางรม




ซิงค์มีประโยชน์อย่างไร

- ซิงค์เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับสารต่อต้นอนุมูลอิสระตามธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ที่รู้จักกันดีในชื่อ คอปเปอร์/ซิงค์ ซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมูเทส (Cu/Zn SOD )

- ซิงค์ช่วยเกื่อหนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และทำให้ฟื้นตัวจากการติดเชื้อได้เร็วขึ้น ซิงค์เป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ควรจะนึกถึงเมื่อเป็นหวัด เพราะซิงค์จะช่วยลดความรุนแรงและระยะเวลาของอาการหวัดได้

- ภาวะขาดซิงค์ อาจทำให้อัตราการตายของทารกเพิ่มขึ้นเด็กเจริญเติบโตได้ไม่ดี เป็นหนุ่ม – สาว ช้าลง เป็นหมัน และโลหิตจาง

- ซิงค์เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสเปิร์ม และระบบเมตาบอลิซึมของเทสโทสเตอโรน ภาวะขาดซิงค์จะส่งผลให้ความเข้มข้นของอสุจิน้อยกว่าปกติ (oligospermia) หรือเป็นหมัน

- ซิงค์ช่วยลดอาการบวมโตของต่อมลูกหมาก และบรรเทาอาการของต่อมลูกหมากโต เช่น ปัสสาวะติดขัด และปัสสาวะอ่อน

- มีหลักฐานเสนอแนะว่า วิงค์ช่วยป้องกันดีเอ็นเอไม่ให้เกิดการกลายพันธุ์ และอาจจะมีบทบาทในการรักษาโรคมะเร็งของลิ้นและหลอดอาหาร

- ซิงค์มีความสำคัญต่อกระดูกที่แข็งแรง สุขภาพผิวพรรณที่ดี และการสมานตัวของแผล

- เด็กทารกและเด็กเล็กที่มีอาการผิวหนังอักเสบ ( รู้สึกคันและมีการติดเชื้อที่ผิวหนัง ) เมื่อให้ซิงค์ในเด็กที่มีภาวะขาดซิงค์พบว่าทำให้อาการเหล่านั้นหายไปได้ทั้งหมด

- มีการศึกษาสนับสนุนว่าผู้ที่เป็นสิวจะมีระดับซิงค์ในร่างกายน้อยกว่าระดับปกติ

- ในภาวะจอประสาทตาเสื่อม (Macular degeneration) ซิงค์ช่วยชะลอการสูญเสียการมองเห็นได้

- มีบางการศึกษาพบว่าผ้ที่มี HIV – positive หรือเป็นโรคเอดส์มีแนวโน้มที่จะขาดซิงค์ ยิ่งโรคมีความรุนแรงก็จะยิ่งมีระดับซิงค์ในเลือดลดลง การรับประทานซิงค์ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันดีขึ้น ( CD4 cell มากขึ้น)

- สำหรับผู้ที่รับประทานยา AZT อยู่ พบว่าจะช่วยลดอัตราการติดเชื้อแทรกซ้อนได้



ซิงค์ควรกินอย่างไรดี

ความต้องการซิงค์ต่อวันคือ 15 มิลลิกรัม (โดยพิจารณาจากปริมาณซิงค์อิสระ) แต่บางคนที่อยู่ในภาวะขาดซิงค์ หรือจำเป็นต้องได้ซิงค์เพิ่มเติมอาจรับประทานได้ถึงวันละ 30 มิลลิกรัมของปริมาณซิงค์อิสระ โดยที่ไม่มีอาการข้างเคียง

ถ้าเป็นซิงค์กลูโคเนต (Zinc gluconate) 50 มิลลิกรัม แนะนำให้รับประทานวันละ 1- 2 เม็ด การรับประทานซิงค์ช่วงท้องว่างอาจทำให้เกิดอาการไม่สบายท้องได้ ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทานซิงค์หลังอาหาร

ซิงค์กลูโคเนต
ซิงค์ที่อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมักไม่ได้อยู่เดี่ยว ๆ แต่จะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า ซิงค์คีเลท (Chelatedzinc) ซิงค์ที่จับกับเกลือกลูโคเนตก็ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของซิงค์คีเลทเช่นกัน

เอกสารอ้างอิง
Hendler SS,  Rorvik D. PDR for Nutritional Supplements.  NJ: Thomson PDR, 2001. 
URAC. Zinc. EBSCO CAM medical review board, 2009.

สรุปคุณประโยชน์ของ.......ZINC
- ต่อต้านอนุมูลอิสระ
- เพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ช่วยลดความรุนแรงและระยะเวลาของอาการหวัดได้
- ลดการเป็นหมัน
- ป้องกันการกลายพันธุ์
- บำรุงกระดูก ผิวพรรณ
- เร่งการสมานตัวของแผล
- บรรเทาอาการผิวหนังอักเสบ
- ใช้ในผู้ที่เป็นสิว
- ชะลอโรคจอประสาทตาเสื่อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น