โรคมะเร็งตับเป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ของตับกลายเป็นมะเร็งมีการแบ่งตัวของเซลล์ และแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่
การดื่มสุรา การติดเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบ
มะเร็งตับคืออะไร
ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีน้ำหนักโดยประมาณ 2 %ของน้ำหนักตัว ตับอยู่บริเวณใต้ชายโครงขวา แบ่งออกเป็น 2 กลีบคือกลีบขวา และกลีบซ้าย โดยมีเส้นเลือดมาเลี้ยง 2 เส้นคือ hepati artery และ portal vein ตับมีหน้าที่สะสมอาหาร เช่นน้ำตาล โปรตีน ไขมัน และวิตามินไว้ให้ร่างกายใช้ นอกจากนั้นยังเป็นอวัยวะที่ทำลายของเสีย
ตับยังทำให้หน้าที่สร้างโปรตีนที่เรียกว่า Albumin ซึ่งทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำในเซลล์และเนื้อเยื่อ และยังนำฮอร์โมนไปยังเนื้อเยื่อ
ชนิดของเนื้องอกตับ
เนื้องอกของตับมีทั้งชนิดที่ไม่เป็นมะเร็งและชนิดที่เป็นมะเร็ง
เนื้องอกชนิดที่ไม่เป็นมะเร็ง
1.Hemangioma เป็นเนื้องอกที่เกิดจากหลอดเลือด ไม่มีอาการ บางรายมีเลือดออก การรักษาใช้การผ่าตัด
2.Hepatic adenomas เกิดจากเซลล์ตับรวมตัวกันเป็นก้อน ผู้ป่วยมาด้วยอาการแน่นท้อง หรือคลำได้ก้อนที่ท้อง
3.Focal nodular hyperplasia เกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์ตับหลายชนิด เช่น เซลล์เนื้อตับ เซลล์ของท่อน้ำดีการรักษาผ่าตัดเอาเนื้องอกออก
เนื้องอกที่เป็นมะเร็งตับ
1.Angiosarcomas or hemangiosarcomas เกิดจากเซลล์ของหลอดเลือดในตับ พบมากในผู้ที่สัมผัส vinyl chloride or to thorium dioxide (Thorotrast) สาร vinyl เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก
2.Cholangiocarcinoma เป็นมะเร็งที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ท่อน้ำดี พบได้บ่อยในผู้ที่อยู่ทางภาคอิสาน ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดนี้ได้แก่ผู้ที่มีพยาธิ์ใบไม้ในตับ นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งชนิดนี้พบได้ร้อยละ13 ของมะเร็งตับ ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ตับโต และปวดท้อง เนื่องจากก้อนมีขนาดใหญ่ทำให้ผ่าตัดไม่หมดต้องให้เคมีบำบัด และฉายแสงมักจะมีอายุไม่เกิน 6 ปีหลังจากวินิจัย
3.Hepatoblastoma เป็นมะเร็งที่พบในเด็ก ถ้าพบในระยะเริ่มต้นการผ่าตัดจะได้ผลดี
4.Hepatocellular carcinoma เป็นมะเร็งตับที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากเซลล์ของตับ ในบทความนี้จะกล่าวถึงมะเร็งชนิดนี้เท่านั้น
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับ
1.ไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี พบว่าหากเป็นเรื้อรังจะพบการเกิดมะเร็งสูง
2.การได้รับสาร Aflatoxin ซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตจากเชื้อราที่อยู่ในอาหารพวกถั่ว แป้งสาลี ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าว
3.ตับแข็งจากสุรา ตับอักเสบ
4.การได้รับสาร Vinyl choloride
5.ยาคุมกำเนิดดังกล่าวข้างต้น
6.ยาฮอร์โมนเพศชาย ที่ใช้รักษาโรคโลหิตจาง หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ พบว่าเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับ
7.สารหนู หากได้รับติดต่อกันก็เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับ
8.การสูบบุหรี่
มะเร็งตับป้องกันได้หรือไม่
มะเร็งตับสามารถป้องกันได้โดย
- แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบ บี แก่เด็กทุกราย รวมทั้งให้ความรู้ประชาชนถึงวิธีติดต่อของไวรัสตับอักเสบ บี ซี
- ลดสาร aflatoxin โดยการเน้นการเก็บอาหารให้แห้งเพื่อลดปริมาณ aflatoxin
- โรคตับแข็ง โดยการลดการดื่มสุรา
- พยาธิ์ใบไม้ในตับ ให้ประชาชนบริโภคอาหารสุก
- สารเคมีต่างๆ ควรมีมาตรการป้องกันทั้งผู้บริโภค และคนงานมิให้ได้รับสารเคมีเหล่านี้
เราสามารถให้การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับเมื่อเริ่มเป็นได้หรือไม่
โรคมะเร็งหากทราบเร็วผลการรักษาจะดี โรคมะเร็งตับสามรถตรวจหาระดับ alfa fetoprotein ค่านี้จะสูงหากเป็นมะเร็งตับ การเจาะเลือดชนิดนี้จะใช้เจาะในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง
อาการของโรคมะเร็งตับ
ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งตับที่มีอาการมักจะเป็นมะเร็งที่เป็นมาก อาการของโรคตับมักจะมีอาการเหมือนกับมะเร็งระบบอื่นๆ อาการต่างๆที่พบได้คือ
- น้ำหนักลด
- เบื่ออาหาร
- จุกเสียดแน่นท้อง
- ปวดท้องตลอดเวลา
- ท้องบวมขึ้น หายใจลำบาก
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
- คลำได้ก้อนที่บริเวณตับ
- อาการผู้ป่วยทรุดลงอย่างรวดเร็ว
การวินิจฉัย
แพทย์จะซักประวัติ และตรวจร่างกายแล้วส่งตรวจ
- Ultrasound ใช้คลื่นเสียงผ่านตับเพื่อหาว่ามีก้อนบริเวณตับ
- CT scan บริเวณเพื่อหาก้อน
- Angiography คือการฉีดสีเข้าเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตับ แพทย์จะทำใรายเพื่อการวางแผนผ่าตัด
- Laparoscope คือส่องกล้องเข้าไปในช่องเพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายเข้าท้องหรือยัง เป็นการวางแผนก่อนผ่าตัด
- Biopsy คือการนำชิ้นเนื้อที่ส่งตรวจทางพยาธิ ส่วนชิ้นเนื้อจะได้จากการใช้เข็มเจาะ หรือการใช้วิธีการผ่าตัด
- เจาะเลือดตรวจ alfe-fetoprotein ในรายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูง และเพื่อติดตามว่าจะกลับเป็นซ้ำหรือไม่
การรักษา
การรักษาขึ้นกับชนิดของมะเร็งตับ ขึ้นกับระยะของโรคว่าเป็นมากหรือน้อย โดยทั่วไปการรักษามีดังต่อไปนี้
- การผ่าตัด จะทำได้ก็ต่อเมื่อมะเร็งอยู่เฉพาะที่ตับ และขนาดไม่ใหญ่มาก ที่สำคัญต้องไม่มีโรคอื่น เช่นตับแข็ง
- embolizatio คือการฉีดสารบางอย่างให้อุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมะเร็งตับทำให้มะเร็งขาดเลือด เป็นการรักษาในรายที่ไม่เหมาะต่อการผ่าตัด
- การให้เคมีบำบัด มักจะไม่ค่อยได้ผล
- การฉายรังสี มักจะไม่ค่อยได้ผล