บริจาคเลือดลดอาการเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
คุณรู้หรือไม่? การบริจาคเลือดลดอาการเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
88% คือจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เนื่องจากโรคนี้มีผลเกี่ยวเนื่องกับปริมาณธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกาย ธาตุเหล็กที่สูงจะส่งผลต่อไขมันทำปฏิกิริยากับออกซิเจน จนหลอดเลือดตีบ การบริจาคเลือดจะลดความเสี่ยงของการเป็นโรคนี้ได้
บริจาคเลือดลดอาการเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน |
การบริจาคเลือดช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแล้ว ยังเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นทางอ้อมอีกด้วย ในเลือดของคนเราประกอบด้วยพลาสมา (น้ำเหลือง) และเม็ดเลือดแดง 8% ของน้ำหนักตัว หรือประมาณ 18 แก้วน้ำ ในผู้ชายจะเท่ากับ 4-6 ลิตร ส่วนผู้หญิงจะเท่ากับ 4-5 ลิตร โดยมีไขกระดูกทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีอายุขัยไม่เท่ากัน เมื่อหมดอายุขัยเม็ดเลือดจะถูกทำลายและขับถ่ายออกมาในรูปแบบของเหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระ และไขกระดูก ก็จะทำการผลิตเลือดชุดใหม่เข้ามาแทน แท้จริงแล้วร่างกายคนเราต้องการเลือดเพียง 16 แก้วน้ำ ส่วนที่เหลือคือส่วนสำรอง การบริจาคเลือดประมาณ 350-450 มิลลิลิตร จึงไม่เป็นอันตรายใดๆ แถมยังเร่งให้ร่ายกายสร้างเลือดใหม่ซึ่งแข็งแรงและมีประสิทธิภาพมากกว่า กระตุ้นการทำงานของไขกระดูก และยังเป็นการตรวจสุขภาพทางอ้อม หากผู้บริจาคมีความผิดปกติในเลือดเมื่อใด ทางสภากาชาดจะแจ้งให้ผู้บริจาคทราบทันที
บริจาคเลือดลดอาการเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน |