ความรู้ทั่วไปกับเบาหวาน
โรคเบาหวาน สิ่งที่ทุกคนควรรู้ และควรป้องกัน
โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมที่ตับอ่อน ซึงไม่สามารถผลิตหรือหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา ให้มากเพียงพอที่จะใช้เปลี่ยนน้ำตาลที่ร่างกายได้รับจากอาหารจำพวกแป้ง ไขมัน และโปรตีนให้เกิดเป็นพลังงาน จึงมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ น้ำตาลส่วนเกินก็จะถูกขับออกมาในปัสสาวะพร้อมกับน้ำ ทำให้ปัสสาวะบ่อยและมีจำนวนมาก ปัสสาวะมีรสหวาน เราจึงเรียกโรคนี้ว่า เบาหวาน นอกจากมีความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนแล้ว ยังมีความผิดปกติอื่น เช่น มีการสลายของสารไขมันร่วมด้วย ถ้าแบ่งกันง่าย ๆ ก็อาจพูดได้ว่า มี 2 ชนิด ชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลิน และชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน
1. เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน มักเกิดขึ้นในเด็ก รูปร่างผอม เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ไม่สามารถใช้ยาเม็ดรับประทานได้
2. เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน มักเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ รูปร่างอ้วน เนื่องจากอินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อผนังเซลล์ได้ดี ทำ ให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง การรักษาอาจเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก และใช้ยาเม็ดชนิดทานในขั้นต่อมา คนไข้ในกลุ่มนี้อาจต้องใช้ยาฉีดอินซูลินบางครั้งหรือตลอดไป ถ้าไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยยาเม็ด
สาเหตุ
ไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยหลักก็คือ ร่างกายตอบสนองต่อระดับน้ำตาลในเลือดที่ขึ้น ช้ากว่าปกติ เช่น มีการตอบสนองต่ออินซูลินต่ำกว่าปกติ (ภาวะดื้ออินซูลิน) โดยเฉพาะคนที่น้ำหนักเกิน อ้วนลงพุง และออกกำลังกายน้อย
อาการและอาการแสดง
ภาวะน้ำตาลชนิดนี้ ไม่มีอาการ แต่ให้คุณมองหาอาการที่แสดงว่าคุณเป็นเบาหวานแบบจริงๆ คือ
· กระหายน้ำบ่อย
· ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะกลางคืน
· หิวบ่อย
· น้ำหนักขึ้น
· อ่อนเพลีย
· ตามัว
· เมื่อเป็นแผลแล้วแผลหายช้า
· มือเท้าชา
· เหงือกอักเสบบ่อยๆ
· ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรืออวัยวะสืบพันธ์บ่อยๆ
· คันตามผิวหนัง
แบบประเมินความเสี่ยงต่อเบาหวาน ( Diabetic Risk Score)
แบบประเมินความเสี่ยงต่อเบาหวาน พัฒนาขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยระยะยาวของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (EGAT) ในการประมาณโอกาสเกิดโรคเบาหวานในช่วง 12 ปี (ระหว่างปีพ.ศ. 2528 ถึงพ.ศ. 2540) การศึกษาวิเคราะห์ดังกล่าว ดำเนินการโดย นพ.วิชัย เอกพลากร (โรงพยาบาลรามาธิบดี) โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้ง่ายในระดับปฐมภูมิและในประชากรทั่วไปในการประเมินตนเอง สามารถช่วยกระตุ้นให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างมีเป้าหมายเช่นการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อให้มีความเสี่ยงลดลง
แบบประเมินความเสี่ยงเบาหวานประเภทที่ 2 (ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน)
ปัจจัย คะแนน
อายุ
34 – 39 0
40 – 44 0
45 - 49 1
≥ 50 2
เพศ
ผู้หญิง 0
ผู้ชาย 2
ดัชนีมวลกาย (นน.ตัว กก./ความสูง เมตร2)
< 23 0
23 - <27.5 3
≥ 27.5 5
ความยาวเส้นรอบเอว(วัดเป็นเซนติเมตร)
< 90 ซม.(ผู้ชาย) และ < 80 ซม. (ผู้หญิง) 0
≥ 90 ซม.(ผู้ชาย) และ ≥ 80 ซม. (ผู้หญิง) 2
เป็นโรคความดันเลือดสูง
ไม่เป็นความดันเลือดสูง 0
เป็นความดันเลือดสูง 2
( >140/90 มม.ปรอท หรือรักษาความดันเลือดสูงอยู่ )
ประวัติเบาหวานในพ่อ แม่ พี่ น้อง
ไม่มีประวัติ 0
มีประวัติ 4
รวมคะแนน
การแปรผลคะแนน เป็นความเสี่ยงต่อเบาหวาน
ผลรวมคะแนน | ความเสี่ยงต่อ | ข้อแนะนำ |
เบาหวานใน 12 ปี | ||
< = 2 | < 5 % | ความเสี่ยงน้อย โอกาสเป็นเบาหวานน้อยกว่า 1 ใน 20 ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาน้ำหนักตัว ตรวจความดันเลือด |
3 – 5 | 5 – 10 % | ความเสี่ยงน้อย โอกาสเป็นเบาหวานประมาณ 1 ใน 12 ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาน้ำหนักตัว ควรตรวจความดันเลือด |
6 – 8 | 11 – 20 % | ความเสี่ยงปานกลาง โอกาสเป็นเบาหวานประมาณ 1 ใน 7 ควรควบคุมอาหาร และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักตัว ตรวจความดันเลือด |
9 -10 | 21 - 30 % | ความเสี่ยงสูง โอกาสเป็นเบาหวานประมาณ 1 ใน 4 ควรควบคุมอาหาร และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักตัว ตรวจความดันเลือด และตรวจน้ำตาลในเลือด |
>11 | > 30 % | ความเสี่ยงสูงมาก โอกาสเป็นเบาหวานประมาณ 1 ใน 3 ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักตัว และความดันเลือด และควรตรวจน้ำตาลในเลือด |
เบาหวานมักไม่มีอาการในระยะแรก ดังนั้นการรู้ตัวของผู้ป่วย และการวินิจฉัยโดยแพทย์จึงมักจะช้าเกินไปทำให้ผู้ป่วยไม่ได้ดูแลรักษาเรื่องภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง และความดันเลือดให้พอเหมาะ ซึ่งหากมีการควบคุมระดับน้ำตาล และปัจจัยเสี่ยงร่วมได้ดีจะทำให้มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้น้อยลง
อาหารผู้ป่วยเบาหวาน
อาหารผู้ป่วยเบาหวานนั้น อาจแบ่งง่ายๆ เป็น 3 ประเภทคือ
ประเภทที่ 1 ห้ามรับประทาน ได้แก่ อาหารน้ำตาล และ ขนมหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ลอดช่อง อาหารเชื่อม เค้ก ช็อกโกแลต ไอศกรีม และขนมหวานอื่นๆ เครื่องดื่ม เครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม น้ำเขียว น้ำแดง โอเลี้ยง เครื่องดื่มชูกำลัง นมข้นหวาน น้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ซึ่งมีน้ำตาลประมาณ 8-15% เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นน้ำมะเขือเทศ มีน้ำตาลประมาณ 1% ควรดื่มน้ำเปล่า น้ำชาไม่ใส่น้ำตาล
- ถ้าดื่มกาแฟ ควรดื่มกาแฟดำไม่ควรใส่น้ำตาล นมข้นหวาน หรือครีมเทียม (เช่น คอฟฟี่เมท ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส 58% น้ำมันปาล์ม 33%) ควรใส่นมจืดพร่องไขมัน หรือน้ำตาลเทียมแทน
- ถ้าดื่มนม ควรดื่มนมจืดพร่องไขมัน นมเปรี้ยวส่วนใหญ่ ไม่ใช่นมพร่องไขมัน และมีน้ำตาลอยู่ด้วยประมาณ 15% เป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกับนมถั่วเหลือง
- ถ้าดื่มน้ำอัดลม ควรดื่มน้ำอัดลมที่ใส่น้ำตาลเทียม เช่น เป็ปซี่แมก ไดเอทโค้ก เป็นต้น
ประเภทที่ 2 รับประทานได้แต่จำกัดจำนวน ได้แก่ อาหารพวกแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ปัจจุบันอาหารพวกแป้งนั้นไม่จำกัดจำนวน ถ้าผู้ป่วยไม่อ้วนมาก เนื่องจากลดอาหารจำพวกแป้ง ทำให้ต้องเพิ่มอาหารพวกไขมัน ซึ่งอาจเป็นผลให้ระดับไขมันสูงและเพิ่มเนื้อสัตว์ทำให้หน้าที่ของไตเสียไปเร็วขึ้น ในผู้ป่วยที่มีโรคไตร่วมด้วยผลไม้นั้นต้องจำกัดจำนวน ควรรับประทานพร้อมกับอาหารครั้งละ 1 ส่วน
ตัวอย่างการ ประมาณ 1 ส่วน ( แต่ละชนิดเท่ากับ 1 ส่วน ) เช่น
กล้วยน้ำว้าสุก 1 ผลเล็ก อินทผาลัม 2 ผล
กล้วยหอม 1/2 ผล ลูกแพร์ 1 ผลเล็ก
กล้วยไข่ 1 ผล น้อยหน่า 1 ผลเล็ก
ส้มเขียวหวาน 1 ผล มะม่วง 1/2 ผล
มะละกอ 6 ชิ้นคำ พุทรา 2 ผล
สับปะรด 6 ชิ้นคำ องุ่น 10-12 ผล
แตงโม 10 ชิ้นคำ เงาะ 3 ผล
แคนตาลูป 8 ชิ้นคำ มังคุด 2 ผล
แตงไท 1 ถ้วย ละมุด 1 ผล
ลางสาด 5 ผล ลิ้นจี่ 3 ผล
ฝรั่ง 1 ผล ทุเรียน 1 เม็ดเล็กเนื้อบาง ๆ
ลำไย 8 ผล แอปเปิ้ล 1/2 ผล
ลูกพรุน 2 ผล ชมพู่ 5 ผล
ส้มโอ 1/5 ผล สตอเบอร์รี่ 1 ถ้วย
น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ถ้วย เนื้อมะพร้าวอ่อน 1/2 ถ้วย
ประเภทที่ 3 รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน ได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด เช่น ผักกาด ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ถั่วงอก ทำเป็นอาหาร ตัวอย่าง เช่น ต้มจืด ยำ สลัด ผัดผัก เป็นต้น อาหารเหล่านี้มีสารอาหารต่ำ นอกจากนั้นยังมีกากอาหารที่เรียกว่า “ไฟเบอร์” ซึ่งทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง
การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ประโยชน์ของการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเป็น โรคเบาหวาน
· ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เพราะขณะออกกำลังกายกล้ามเนื้อ และไขมันจะใช้น้ำตาลเพิ่มขึ้น
· ช่วยให้น้ำหนักตัวลดลง ซึ่งจะทำให้อาการของโรคเบาหวานดีขึ้น
· ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ซึ่งจะลดโรคแทรกซ้อนบางอย่างของเบาหวานได้
การเตรียมตัวก่อนออกกำลังกาย
- ผู้ป่วยต้องมีป้ายแสดงตัวว่าเป็นเบาหวานติดตัวไว้เสมอ
- ตรวจดูเท้าว่ามีแผล ตาปลา หรือการอักเสบใดๆ
- ใส่รองเท้าอย่างเหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย และต้องสวมถุงเท้าทุกครั้ง
- ต้องสามารถทราบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และมีน้ำตาลติดตัวเสมอ
- ดื่มน้ำให้พอทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย
- ผู้ป่วยต้องมีป้ายแสดงตัวว่าเป็นเบาหวานติดตัวไว้เสมอ
- ตรวจดูเท้าว่ามีแผล ตาปลา หรือการอักเสบใดๆ
- ใส่รองเท้าอย่างเหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย และต้องสวมถุงเท้าทุกครั้ง
- ต้องสามารถทราบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และมีน้ำตาลติดตัวเสมอ
- ดื่มน้ำให้พอทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย
หลักการออกกำลังกาย ควรทำสม่ำเสมอ อย่าให้ขาดตอนอย่างน้อยวันละ 16-20 นาที หรือถึง 1ชั่วโมง จนเหงื่อออกซึม ๆ และสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหมและไม่ควรออกกำลังกายขณะหิวหรืออิ่ม
วิธีการออกกำลังกาย ทำได้หลายอย่าง เช่น เดินไกล ๆ วิ่ง กายบริหาร โยคะ รำมวยจีน เป็นต้น จะใช้อย่างใดควรทำตามถนัด และเหมาะสมกับวัยหรือ โรคแทรกซ้อนทางหัวใจอื่น ๆ
- อายุมาก อาจเพียงเดินหรือบริหารท่าง่าย ๆ ในรายที่มีโรคหัวใจแทรก ต้องระมัดระวังไม่ให้ออกกำลังกายมากเกิน
ไป และจะต้องหยุดทันทีเมื่อรู้สึกเหนื่อย หรือเจ็บแน่นหน้าอก เป็นต้น
ไป และจะต้องหยุดทันทีเมื่อรู้สึกเหนื่อย หรือเจ็บแน่นหน้าอก เป็นต้น
- การทำงานด้วยแรงกายก็ได้ประโยชน์ เช่น ทำสวน ทำนา ทำไร่ เดินไกล ตักน้ำ ขุดดิน เข็นรถ เป็นต้น แต่ต้องมาก
พอให้มีเหงื่อออก และทำติดต่อกันอย่างน้อย 15 นาที ทำวันละครั้งหรืออย่างน้อย วันเว้นวัน
พอให้มีเหงื่อออก และทำติดต่อกันอย่างน้อย 15 นาที ทำวันละครั้งหรืออย่างน้อย วันเว้นวัน
หยุดออกกำลังกายทันทีเมื่อมีอาการ
· ตื่นเต้นกระสับกระส่าย
· มือสั่น ใจสั่น
· เหงื่อออกมากผิดปกติ อ่อนเพลีย
· ปวดศีรษะ ตาพร่า หิว
· เจ็บแน่นหน้าอก หรือ เจ็บที่หน้าอกร้าวไปที่แขน คอ ขากรรไกร
· หายใจหอบมากผิดปกติ
ข้อควรระวัง
สำหรับผู้ที่เริ่มออกกำลังกายควรเริ่มต้นที่ละน้อยตามกำลังของตนเองก่อน อย่าให้หักโหม หรือเหนื่อยเกินไป และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อย
ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมานาน หรือมีโรคแทรกซ้อนหรือเป็นผู้สูงอายุ ก่อนจะเริ่มออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน
แหล่งความรู้และช่องทางในการรักษาเบาหวาน
- คลินิกโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนทุกแห่ง
ช่องทางแหล่งความรู้
- สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข http://www.hsri.or.th
- สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย http://www.diabassocthai.org
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ http://www.thaihealth.or.th
- Bangkokhealth http://www.bangkokhealth.com/dm_htdoc/dm_health.asp
- Siriraj E-Public Library : ข้อมูลโรคเบาหวาน http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e%2Dpl/
- เส้นทางสุขภาพ : เบาหวาน http://www.yourhealthyguide.com/link-info/link-diabetes.htm
- มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ http://www.thainhf.org/ThaiNHF/index.asp
บันทึกประวัติ
วัน/เดือน/ปี | น้ำหนัก(กิโลกรัม) | ส่วนสูง (เซนติเมตร) | ดัชนีมวลกาย (นน./ความสูงเป็นเมตร2) | ค่าจากการคำนวณการประเมินความเสี่ยงเบาหวาน |
.............................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น