วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ลูทีนและซีแซนทีน เพราะดวงตา คือ อวัยวะสำคัญ

ลูทีนและซีแซนทีน
เพราะดวงตา คือ อวัยวะสำคัญ
ลูทีนและซีแซนทีน เพราะดวงตา คือ อวัยวะสำคัญ

        การมองเห็นถือเป็นหนึ่งในประสาทสัมผัสที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เราเป็นอย่างยิ่ง และอวัยวะที่เป็นตัวรับภาพต่าง ๆ จากภายนอกให้เราได้รับรู้ก็คือดวงตา กลไกในการมองเห็นก็คือ เมื่อมีแสงตกกระทบกับวัตถุแสงจะสะท้อนเข้าสู่นัยน์ตาเราผ่านกระจกตา รูม่านตา แก้วตา และไปตกที่จอรับภาพตา ในลักษณะของภาพหัวกลับแล้วจึงถูกส่งไปแปลเป็นภาพที่เรามองเห็นจริงในระบบประสาทส่วนท้ายทอย

โรคตาที่ส่งผลต่อการมองเห็น
 โรคต้อกระจก

        คือสภาวะที่กระจกตาหรือเลนส์ตาขุ่น ทำให้แสงไม่สามารถผ่านเข้าไปในตาได้ตามปกติ ต้อกระจกไม่ใช่โรคติดต่อ ต้อกระจกจะค่อย ๆ ขุ่นไปอย่างช้า ๆ ใช้เวลาเป็นปี ๆ และสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมตามวัย โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ภาวะบางอย่าง เช่นการขาดสารอาหาร หรือผู่ป่วยที่เป็นเบาหวาน ก็อาจทำให้เกิดโรคต้อกระจกก่อนวัยได้เช่นกัน

โรคจุดรับภาพเสื่อม

        เกิดจากการเสื่อมของจุดรับภาพ (MACULAR) ซึ่งเป็นกลางจอตา (RETINA) ทำให้การมองเห็นภาพเบลอ บิดเบี้ยว บางครั้งอาจรุนแรงขนาดเห็นจุดดำมาบังอยู่ตลอดเวลา

สารอาหารจำเป็นสำหรับดวงตา

        สารอาหารที่มีข้อมูลสนับสนุนว่ามีความสัมพันธ์กับโรคตามีอยู่หลายตัวด้วยกัน คือ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี รวมถึงสารอาหารที่มีงานวิจัยอย่างกว้างขวางว่ามีประโยชน์กับดวงตาโดยตรงก็คือ ลูทีน (LUTEIN) และซีแซนทีน (ZEAXANTHIN)

ลูทีน และซีแซนทีน

        เป็นสารธรรมชาติที่มีในพืชผักผลไม้หลายชนิด เป็นสารในตระกูลของสารแคโรทีนอยด์ และพบได้ในบริเวณดวงตา โดยเฉพาะตรงบริเวณเลนส์ตาและจอรับภาพตา ในธรรมชาติแม้จะมีแคโรทีนอยด์มากกว่า 600 ชนิด แต่มีเพียงสาร 2 ชนิดนี้เท่านั้น ที่พบในจุดรับภาพของจอตา สารทั้ง 2 ชนิดนี้จะทำหน้าที่ช่วยกรองหรือป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา และช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย โดยการลดอนุมูลอิสระ ดังนั้นจึงทำหน้าที่บำรุงตา ทำให้จอตาไม่เสื่อมเร็ว พืชผักที่มีสารลูทีน และซีแซนทีนโดยมากมักจะเป็นผักผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้ม เช่น ข้าวโพด แครอท ฟักทอง ผักกาด  ผักปวยเล้ง คะน้า ผักโขม เป็นต้น การบริโภคพืชผักที่มีลูทีนและซีแซนทีน หรือแม้แต่อาหารสุขภาพที่มีสารสำคัญนี้ จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อสุขภาพของดวงตา มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลายชนิดด้วยกัน ที่สำคัญคือ โรคต้อกระจก และจุดรับภาพตาเสื่อม

ลูทีน และซีแซนทีน กับโรคต้อกระจก

        ลูทีนและซีแซนทีน สามารถลดความเสี่ยงหรือชะลอการเกิดโรคต้อกระจกได้ โดยเข้าไปมีบทบาทช่วยลดกลไกการเกิดความเสื่อมของโรคต้อกระจกโดยตรง (อ้างอิงที่1) และการที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ(อ้างอิงที่2,3)เพราะอนุมูลอิสระเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกอดต้อกระจก(อ้างอิงที่4) มีการวิจัยในกลุ่มผู้สูงอายุต่าง ๆ พบว่ากลุ่มที่มีระดับของลูทีนและซีแซนทีน ในกระแสเลือดสูง จะมีความขุ่นของเลนส์ตาน้อยกว่า ซึ่งเป็นการวิจัยของจักษุแพทย์ และผูวิจัยสรุปว่า ลูทีนละซีแซนทีนน่าจะลดการเกิดความเสื่อมของเลยส์ตาในผู้สูงอายุได้จริง (อ้างอิงที่ 5) ยังมีการวิจัยว่าการรับประทาน ลูทีนในปริมาณสูง พิ่มความสามารถในการมองเห็นของผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกไปแล้ว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยที่มีการออกแบบแผนการวิจัยมาอย่างดี และทำการทดลองเป็นเวลานานถึง 2 ปี (อ้างอืงที่ 6) การวิจัยที่ Harvard School of Public Health, Boston ในผู้ชาย 3,664 คน ที่ได้รับอาหารเสริมและวิตามินต่าง ๆ พบว่ากลุมที่ได้รับอาหารเสริมเป็นลูทีนและซีแซนทีน จะลดความเสื่อมของโรคต้อกระจกถึง 19% (อ้างอิงที่ 7) และที่ University of Massachusetts ทำวิจัยในสุภาพสตรีถึง 50,461 คน พบว่าลูทีนและซีแซนทีนจะลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกถึง 22% (อ้างอิงที่ 8) การวิจัยที่ University of Wisconsin-Madison Medical School ในผู้สูงอายุ 43-48 ปี จำนงน 1,354 คน พบว่าช่วยลดอุบุติการณ์ของต้อกระจกที่เกิดตรงกลางเลนส์(Nuclearcataracts) ได้ถึง 50 % (อ้างอิงที่ 9) จากการวิจัยทั้งหมดนี้ จึงเป็นที่ยอมรับว่า ลูทีนและซีแซนทีน ลดอุบัติการณ์โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุได้จริง

ลูทีน และซีแซนทีน กับโรคจุดรับภาพเสื่อม

        นอกจาก ลูทีน และซีแซนทีน จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกแล้ว ยังพบว่ามีประโยชน์ในโรคจุดรับภาพเสื่อมซึ่งมีหลาย ๆ การศึกษาสนับสนุนข้อมูลดังกล่าว โดยพบว่าปริมาณ ลูทีนและซีแซนทีน ในลูกตาลดน้อยลงจะพบความเสื่อมมากขึ้น ในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อม (อ้างอิงที่ 10) และความเสี่ยงในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อมจะลดลงหากมีปริมาณลูทีนและซีแซนทีนในเลือดสูงขึ้น (อ้างอิงที่ 11, 12) แสดงให้เห็นว่าการบริโภคอาหารที่มีลูทีนและซีแซนทีน สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจุดรับภาพเสื่อมได้


ลูทีน และซีแซนทีนกับโรคหัวใจและมะเร็งเต้านม

        โรคหลอดเลือดและหัวใจ มักมีสาเหตุหลักมาจากการที่เส้นเลือดมีการหนาตัวตีบแคบลง เนื่องมาจากการมีตะกอน(Plaque) ในผนังเส้นเลือด ซึ่งบริเวณสำคัญที่ต้องการเลือดมากที่สุดตลอดเวลา และไม่มีการหยุดพัก คือ หัวใจ เป็นอวัยวะอันดับต้นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากขาดเลือด มีผลทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายจนหัวใจวาย หรือหัวใจหยุดเต้น และถึงแก่ความตายโดยฉับพลันได้ บางรายอาจมีอาการทางหัวใจไม่มาก แต่เมื่อหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นระยะเวลานาน ก็อาจส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ มีโอกาสเป็นอัมพาตหรือแขนขาอ่อนแรงได้
        มีงานวิจัยพบว่า ลูทีน สามารถลดกลไกการเกิดตะกอนในหลอดเลือด โดยกลไกต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีผลในการยับยั้งการรวมตัวกันของโคเลสเตอรอล และอนุมูลอิสระได้ (อ้างอิงที่ 13) พบว่าในผู้บริโภคอาหารที่มีลูทีนสูงจะลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดตีบในสมองอย่างมีในสำคัญ (อ้างอิงที่ 14, 15)

        นอกจากนี้ ลูทีน และซีแซนทีน ยังมีประโยชน์ในการช่วยลดความเสี่ยงอุบัติการณ์ในโรคมะเร็งบางชนิด จากการวิจัยพบว่า มีผู้ที่บริโภคอาหารที่มีลูทีน และซีแซนทีนอย่างต่อเนื่อง อาจช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมในสตรีช่วงหมดประจำเดือนได้อย่างมีในสำคัญอีกด้วย (อ้างอิงที่ 16)

ใครบ้างที่ควรได้รับ ลูทีนและซีแซนทีน

        เด็กวัยเรียนและวัยเจริญเติบโต ผู้ที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผัก และผลไม้ ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อกระจก และโรคจอรับภาพตาเสื่อม ผู้ที่ใช้สายตามากๆ เป็นเวลาต่อเนื่อง เช่น อ่านหนังสือ หรือขับรถนานๆ


เทคนิคการถนอมสายตา


-อย่าใช้สายตานานเกินควร ถ้าจำเป็นให้พักสายตาบ่อยๆ
-อ่านหนังสือในที่มีแสงสว่างเพียงพอ
-การดูโทรทัศน์ควรมีแสงสว่างพอสมควร และอย่านั่งไกล้โทรทัศน์มากเกินไป
-หลีกเลี่ยงการมองแสงจ้า และควรสวมแว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้ง
-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์กับสายตาเป็นประจำ เช่น ผักสีเหลือง และสีเขียวเข้ม

เอกสารอ้างอิง
1.     The Body of Evidance to Support aPprotective for Lutein and Zeaxanthin in Delaying Chronic Disease. Overview The American Society for Nutritional Sciences J.Nutr. 132:51 8S-524S, 200
2.     Antioxidant and prooxidance properties of carotenoids. Arch. Biochem. Biophy. 385:20-27
3.     Biochim. Biophys. Acta 199;1068:68-72
4.     Ocula photosensitization Photochem. Photobiol. 1986;46:1051-1055
5.     Lens aging in reiation to nutritional determinants and possible risk factors for age-related. Arch phthalmol.2002 Dec; 120(12):1732-7
6.     Lutein, but not alpha-tocopherol, supplementation improves visual function in patients with ags-related cataracts; a 2-y double-bllind, placebo-controlled pilot study. Nutrition.2003 Jan;19(1);12-4
7.     A prospective study of carotenoid intake and risk of cataract extraction in U.S.men. Am. J. Nurt. 1999; 70:517-524.
8.     A prospective study of carotenoid intake and vitamin A Intake and risk of cataract extraction omong U.S.woman.Am. J. Clin. Nutr. 1999;70:509-516
9.     Antioxidant intake and risk of incident age-related nuclear cataracts in the Beaver Dam Eye Study. Am J Epidemiol. 1999 May 1;149(9) :801-9.
10.  The macular pidment: a possible role in protection from age-related macular degeneration. Ady Pharmarcol 38:537-56
11.  Antioxidant status and neovascular age-related macular degeneration. Arch Opthamol 111:104-9
12.  Dietary carotenoids, vitamin A, C, E and advanced age-related macular degeneration JAMA 1994;272(18):1413-20
13.  The effect of carotenoids on the expression of cell surface adhesion molecules and binding of monocytes to human aortic endothelial cells. Atherosclerrosis 2000;150:265-274.
14.  Fruit and vegetable intake in relation to risk of ischemic stroke. J. Am. Med. Assoc. 1999;282:1233-1239
15.  Carotene, carotenoids and the prevention of coronary heart disease. J. Nutr. 1999;129:5-8.
16.  Dietary carotenoids and Vitamins A, C, E and risk of breast cancer. J Natl. Cancer Inst. 1999;91:547-556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น