Fresh garlic กระเทียมสด ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ
เรื่องน่ารู้........ของกระเทียมสด
กระเทียม(Garlic); Allium sativum L.
“กระเทียม” น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักเพราะกระเทียมเป็นพืชที่เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมหลายแห่งบนโลก มาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน กระเทียมนอกจากถูกนำมาใช้ในการประกอบอาหารแล้ว ยังมีประโยชน์ทางยาอีกด้วย
สารสำคัญในกระเทียม
มีการใช้กระเทียมรักษาและป้องกันโรคมาหลายพันปีแล้วพบว่า กระเทียมช่วยให้เลือดไหลเวียนดี สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและล้างสารพิษ กระเทียมมีสารอัลซิลินซึ่งเมื่อผสมกับก๊าซออกซิเจนแล้ว จะได้สารประกอบถึง 100 กว่าชนิด ที่ทำปฏิกิริยาได้ทันที (active compounds)
สารสำคัญที่พบในกระเทียมนอกจากสารอัลซิลิน และอัลลิอินซึ่งทำให้กระเทียมมีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันรักาโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังมีสารประกอบอื่น ๆ ที่มีประโยชน์อีกได้แก่ ซีลีเนียม, วิตามินบี 1, สารไดอัลลิลไดซัลไฟด์, เจอร์มาเนียม และสารกลูโคไคนิน
สรรพคุณ
งานวิจัยเกี่ยกับกระเทียมครอบคลุมในหลาย ๆ โรค ตั้งแต่ผลดีต่อโรคหัวใจจนกระทั่งถึงคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็ง สรรพคุณของกระเทียมอาจแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1.ผลต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ
- ลดไขมันในเส้นเลือดที่ไม่ดีทั้งแอลดีแอล และคอเลสเตอรอล
- ต้านการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด
- ลดความดันโลหิตทั้งซิสโตลิก (ตัวบน) และไดแอสโตลิก(ตัวล่าง)
2.ผลต่อโรคที่เกิดจากเชื้อโรค
- ต่อต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก
- ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคที่เกิดจากอาหาร
- ต่อต้านเชื้อไวรัสที่สาเหตุของโรคหวัด
3.ผลต่อโรคมะเร็ง
- ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลายชนิด รวมทั้งเนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารและลำไส้
4.ผลต่อโรคอื่น ๆ
- เพิ่มน้ำย่อยและน้ำดี
- ลดอาการแน่น จุกเสียด และขับลม
- ปกป้องตับจาการถูกทำลายจากสารพิษ
- ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานเป็นปกติ
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระเทียมสด
- สารสำคัญในกระเทียมสดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมนุษย์ คือ สารอัลลิซิน
- อัลลิซินถูกป้องกันไว้ภายในเซลล์ของกลีบกระเทียมสดจนกระทั่งถึงเวลาที่มีการตัด ย่อย อัดกลีบกระเทียม ผนังเซลล์ของกระเทียมจะแตกออก และปลดปล่อยสารอัลลิซินออกมา ซึ่งทำให้เราตรวจพบได้ง่าย เนื่องจากว่าอัลลิซินมีส่วนที่ทำให้เกิดกลิ่นเฉพาะตัวของกระเทียม
- เราไม่สามารถวัดปริมาณอัลลิซินจากกระเทียมสดในเลือด และปัสสาวะได้ด้วยวิธีทดสอบปกติ อัลลิซินสามารถตรวจพบได้โดยวัดจากอัลลิซินเมตาบอไลท์ ที่เรียกว่าอัลลิลเมทิลซัลไฟด์ ( Ally Methyl Sulfide; AMS) ในลมหายใจ
เอกสารอ้างอิง
Garlic [homepage on the internet] . สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.unknown[reviseddateunknow;cite2008Jun15].Avaliblefrom:URL:http://www.medplant.mahidol.ac.th/pharm/botanic.asp?bc=0024.
Jones W, Goebel RJ. Garlic and health. In: Watson RR, editor. CRC Press, 2000.205-14.
น้ำมันกระเทียม
น้ำมันกระเทียมเป็นรูปแบบของกระเทียมที่มีการคิดค้นมามากกว่า 70 ปีแล้ว ก่อนหน้าทนักวิจัยมีการค้นพบสารสำคัญในกระเทียมเสียอีก
กรรมวิธีการเตรียมน้ำมันกระเทียมคือ อบกระเทียมที่ถูกบดด้วยไอน้ำ และสกัดเอาน้ำมันที่ปลดปล่อยออกมาในรูปของอัลลิซินที่มีการแตกตัวไปเป็นซัลไฟด์แล้ว
เราต่องใช้กระเทียมหนักเป็นปอนด์ เพื่อที่จะผลิตน้ำมันกระเทียม 1 กรัม จึงทำให้น้ำมันกระเทียมที่ได้มีความเข้มข้นสูงมาก และมีราคา ดังนั้นจึงต้องมีการเติมน้ำมันถั่วเหลืองลงไปในแคปซูลด้วยเพื่อเจือจางให้ย่อยง่ายขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วน้ำมันกระเทียมจะมีน้ำหนักประมาณ 1% ของแคปซูล ส่วนน้ำหนักที่เหลือมักจะเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันกระเทียมที่ถูกกลั่นด้วยไอน้ำจะไหลเวียนไปทางระบบน้ำเหลือง และงานวิจัยบ่งชี้ว่าน้ำมันกระเทียมมีประโยชน์ในด้านต่อต้านเนื้องอก เพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกัน และมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียได้เล็กน้อย
วิธีการรับประทานน้ำมันกระเทียม
รับประทานวันละ 10-20 มิลลิกรัม/วัน หลังอาหาร
กระเทียมสด ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น