วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เห็ดหลินจือ ตำนานแห่งเห็ดอายุวัฒนะ (Reishi Extract)

Reishi Extract


หลินจือ ตำนานแห่งเห็ดอายุวัฒนะ


          2,000 ปีก่อนในประเทศจีน เห็นหลินจือถูกเรียกว่า “เห็ดอายุวัฒนะ” เนื่องจากหลินจือมีชื่อเสียงว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้มากมาย จักพรรดิจีนตลอดจนราชวงศ์ จึงมีคำสั่งให้ข้าราชบริพารไปเสาะหาหลินจือป่าจากยอดเขาอันไกลโพ้น ด้วยเชื่อว่าการบริโภคหลินจือจะทำให้คงความยาว์วัยไว้ได้ตลอดกาลและสุขภาพดีขึ้นด้วย

          เมื่อเวลาผ่านไป หลินจือได้ฝังรากลงในวัฒนธรรมของชาวตะวันออก หลักฐานเกี่ยวกับการใช้หลินจือในการรักษาโรคมีปรากฏทั้งในตำรายาจีนโบราณ ภาพวาดงานเย็บปัก  รูปแกะสลักของเทพเจ้า ซึ่งหลักฐานทั้งหลายนี้ต่างยกย่องว่าหลินจือเป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้าอายุที่ยืนยาว และโชคดี

          ถึงแม้ว่าหลินจือมีมากกว่า 2,000 สายพันธุ์แต่มีเพียง 6 สายพันธุ์เท่านั้นที่ถูกค้นพบว่ามีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างไรก็ดีหลินจือแดง (Ganoderma lucidum) ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดในการปรับปรุงสุขภาพในทุก ๆ ด้าน โดยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน หน้าที่การทำงานของร่างกายและอวัยวะสำคัญ



สารสำคัญในหลินจือ 
          มีรายงานการค้นพบสารสำคัญของหลินจือมากกว่า 150 ชนิด และพอจำแนกสารออกฤทธิ์ออกเป็นกลุ่มได้ดังต่อไปนี้

โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides)

      เป็นน้ำตาลที่มีโครงสร้างโมเลกุลเชื่อมต่อกันเป็นลูกโซ่ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ ต่อต้านกระบวนการอักเสบ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และป้องกันการลุกลามของเซลล์มะเร็ง

ไตรเทอร์ปีนอยด์ (Triterpenoids)

     เป็นสารที่มีรสขมเป็นส่วนใหญ่ สร้างคุณสมบัติให้ร่างกายปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่แปรปรวน ออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายทุกระบบทำงานอย่างกลมกลืน ต้านพิษในตับควบคุมระดับความดันโลหิต และยับยั้งการสร้างคอเลสเตอรอล

สเตอรอยด์ (Steroids)

    เป็นสารที่มีปริมาณน้อยในหลินจือ ทำให้ตับทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น

นิวคลีโอไทด์ (Nucleotides)

    ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด คลายกล้ามเนื้อ บรรเทาปวด ซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และระบบประสาท

เจอร์มาเนียม (Germanium)

    ธาตุชนิดนี้พบในโสม และกระเทียม โดยพบปริมาณมากในหลินจือ ป็นตัวส่งเสริมขบวนการทำงานของร่างกาย สามารถรวมตัวและช่วยกำจัดสารพิษหรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ

อัลคาลอยด์ (Alkaloids)

    เป็นสารตัวหนึ่งที่พบว่ามีฤทิ์ในการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในหัวใจ ลดแรงต้านทานในผนังของเส้นเลือดหัวใจ ลดการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ และเพิ่มความทนทานต่อภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานานได้

กรดโอเลอิก (Oleic acid)

    เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวไม่มีสี มีสรรพคุณช่วยยับยั้งการหลั่งฮีสตามีน

กรดอะมิโนจำเป็น (Essential amino acid

    หลินจือจัดว่าเป็นโปรตีนชนิดสมบูรณ์เพราะมีกรดอะมิโนจำเป็นครบถวน จากการตรวจสอบปริมาณและอัตราส่วนของกรดอะมิโนชนิดต่าง ๆ จากการสกัดหลินจือโดยสถาบันวิจัยโครงสร้างแห่งชาติของจีน พบว่ามีคุณสมบัติและมาตรฐานใกล้เคียงกับดปรตีนชนิดสมบูรณ์ที่กำหนดโดยองค์การอาหารและการเกาตร (FAO) และองค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ (WHO)

การใช้หลินจือเพื่อช่วยบำบัดโรค
          หลินจือสามารถช่วยบำรุงร่างกาย ป้องกันและใช้เพื่อเสริมการบำบัดโรคได้หลายชนิด 
เช่น

-ระบบไหลเวียนโลหิต : โรคที่เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเส้นเลือดอุดตัน หลอดเลิอดแข็งตัว ระดับน้ำตาลในเลือดสูง โรคหัวใจ และรอบเดือนไม่ปกติในสตรี

-ระบบทางเดินอาหาร : โรคกระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท้องผูก ทางเดินอาหารอักเสบเรื้อรัง ริดสีดวงทวาร

-ระบบทางเดินหายใจ : ภูมิแพ้ ไอ หลอดลมอักเสบ วัณโรคปอด หายใจขัด

-โรคมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย : มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งกระดูก มะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งในช่องท้อง

-โรคอื่น ๆ : โรคตับอักเสบ โรคไขข้ออักเสบ โรคอ้วน อัมพาต อัมพฤกษ์ โรคไตอักเสบ โรคไมเกรน นอนไม่หลับ และโรคเครียด

ปริมารการใช้ที่เหมาะสม

เพื่อบำรุงสุขภาพ
200 – 600 มิลลิกรัมต่อวัน

เพื่อเสริมการบำบัดโรคทั่วไป
เช่น เป็นหวัด รอบเดือนมาไม่ปกติในสตรี 600 - 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน

เพื่อเสริมการบำบัดโรคเรื้อรัง
เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือสูง 2,000 – 6,000 มิลลิกรัมต่อวัน

เพื่อใช้ร่วมกับการรักษามะเร็งแผนปัจจุบัน
แนะนำให้รับประทานควบคู่กับวิตามินซีธรรมชาติ 2,000 – 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน


เอกสารอ้างอิง
1.สาธิต ไทยทัตกุล. เห็ดหลินจือในการรักษาโรค. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ: ฟ้าอภัย, 2548.
2.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล. เห็ดหลินจือ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ: รวมทรรศน์, 2549.
3.Sing WS. Red reishi: how an ancient herbal treasure can benefit your health today. Leanne communications, 2003.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น