วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เวียนศีรษะ ปวดต้นนคอ ปวดไหล่ แขนชา สารพัดอาการที่เกิดจาก “โรคกระดูกคอ”

เวียนศีรษะ ปวดต้นนคอ ปวดไหล่ แขนชา ฯลฯ
            สารพัดอาการที่เกิดจาก “โรคกระดูกคอ”
โรคกระดูกคอเป็นโรคที่ฮิตในปัจจุบันอีกทั้งเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้สูงอายุและในวัยหนุ่มสาว แม้กระทั่งในวัยเด็กนักเรียน นักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือทำงานอยู่ในท่าเดียวนานๆ
สาเหตุโรคกระดูกคอที่พบบ่อย
          -ภาวะกระดูกคอเสื่อม: ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
            -อริยาบถหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ: เช่นการหนุนหมอนสูงเกินไป การทำงานในท่าเดียวนานๆ นั่งเขียนหนังสือ นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
            -คอเคล็ดหรือยอก: เกิดจากคอมีการเคลื่อนไหวเร็วเกินไป หรือรุนแรงเกินไป
            -บาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา
            -ข้ออักเสบ: ข้ออักเสบเรื้อรังบางชนิดอาจทำให้กระดูกคออักเสบไปด้วย
            -อาการอักเสบของร่างกาย: อาจทำให้เป็นโรคกระดูกคอหรือกระตุ้นให้อาการหนักขึ้น
            -ความเครียดทางจิตใจ: ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอตึงตัวเป็นประจำ จนส่งผลกระทบต่อกระดูกคอได้
            -ขาดการออกกำลังกาย
อาการของโรคกระดูกคอ
          อาการของโรคกระดูกคอมีตั้งแต่ปวดตื้อๆ อย่างสม่ำเสมอจนถึงปวดแปล๊บอย่างรุนแรง อาจเริ่มปวดจากโครงสร้างส่วนใดของคอก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นล้ามเนื้อ เส้นเอ็นหรือกระดูกหรือไม่ก็อาจเริ่มปวดจากบริเวณอื่น  เช่น ข้อไหล่ สะบักหรือขากรรไกร แล้วปวดแผ่ซ่านกระจายไปยังคอตามเส้นประสาทที่ควบคุมบริเวณแขนทั้งสอง ทำให้มีอาการชาไปที่แขนและมือ นอกจากนี้ผู้ป่วยมักจะรู้สึกปวดหรือมึนศีรษะ หนักท้ายทอย อาการปวดจะหนักขึ้นเรื่อยๆ และจะปวดร้าวตามไหล่และแขนโดยเฉพาะเวลาหันคอ แต่สำหรับผู้ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป แม้มีเพียงอาการปวดเมื่อยต้นคอ หรือมีอาการตกหมอนเป็นประจำก็เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเริ่มเป็นโรคกระดูกคอแล้ว ควรเริ่มดูแลรักษาแต่เนิ่นๆ
สาเหตุโรคกระดูกคอในทัศนะการแพทย์จีน...
            การแพทย์จีนได้จัดโรคกระดูกคอให้อยู่ในกลุ่มโรคชาและปวดเมื่อยจากเส้นลมปราณติดขัดทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง และเกิดภาวะเลือดคั่งกีดขวางการไหลเวียนของโลหิตจนเกิดอาการปวด ซึ่งสอดคล้องกับหลักการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของแพทย์จีนคือ “ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด” ส่วนพิษของลมและเย็น-ชื้น ที่สะสมในเส้นนลมปราณบริเวณคอและไหล่จะจับตัวเป็นก้อน ทำให้เส้นลมปราณและหลอดเลือดติดขัดกันมากยิ่งขึ้น เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และกระดูกคอ จะได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอจึงเสื่อลงได้เร็วขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติหลายๆ อย่าง
วิธีการบำบัดแบบองค์รวมของการแพทย์จีน...
          การรักษาโรคกระดูกคอด้วยยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาสเตอรอยด์ อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย เนื่องเป็นเพียงระงับอาการปวดและอักเสบชั่วคราว มได้หยุดยั้งการลุกลามของโรค ที่สำคัญคือพิษของยาจะก่อให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารไม่ย่อย และเลือดออกในกระเพาะอาหารพร้อมทั้งส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงนั้นวิธีการผ่าตัดอาจได้ผลดี แต่อาจไม่เหมาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว อีกทั้งผู้ป่วยหลายๆ คนก็ ยังลังเลในเรื่องค่าใช้จ่าย ความยุ่งยากและความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะตามมา ดังนั้นการแพทย์จีนจึงนิยมใช้สมุนไพรจีนบำบัดโรคกระดูกคอด้วยวธีแบบองค์รวมดังนี้
-ทะลวงเลือดและเส้นลมปราณบริเวณคอและไหล่ สลายเลือดคั่ง ทำให้หลอดเลือด และเส้นลมปราณโล่งขึ้น เส้นเอ็น กล้ามเนื้อและกระดูกคอจะได้รับการหล่อเลี้ยงได้มากขึ้น เพื่อบรรเทาอาการปวด และหยุดยั้งการลุกลามของโรค
-ขจัดพิษของลมและเย็น-ชื้น ที่สะสมอยู่ตามบริเวณไหล่และคอ เพื่อขจัดสาเหตุสำคัญของโรคกระดูกคอ
-บำรุงเลือดลม กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต เลือดจึงไปเลี้ยงสมองมากขึ้น เพื่อลดอาการปวดหรือมึนศีรษะ
-เสริมสร้างพลังชี่ ทำให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดภาวะเส้นลมปราณติดขัด
อาการปวดต้นคอ ไหล่และสะบัก อาการปวดร้าวและอ่อนแรงที่แขนและมือ อาการปวดศีรษะมึนศรีษะ สายตาพร่า และอาการอื่นๆ ที่เกิดจากโรคกระดูกคอ จะค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น