ปัสสาวะบ่อย นอนไม่ค่อยหลับ อ่อนเพลียเรื้อรัง ฯลฯ สารพัดอาการที่ต้อง “บำรุงไต”
ไต คือ รากฐานของชีวิต...
ไต(รวมทั้งต่อมหมากไตด้วย)มีบทบาทสำคัญยิ่งในการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย การพัฒนาสมอง การสร้างกระดูก การสร้างเม็ดเลือด สมรรถภาพทางเพศ การสืบพันธ์แลความชรา ทั้งยังมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับระบบการทำงานของหัวใจ ปอด ตับ ม้าม ระบบฮอร์โมน ระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกันด้วย ทั้งนี้เนื่องจากไตมีหน้าที่สำคัญดังนี้
-ขับของเสียออกจากร่างกาย
-รักษาความสมดุลของน้ำและเกลือในร่างกาย
-รักษาความสมดุลของสภาพความเป็นกรดและด่างในร่างกาย
-ควบคุมความดันโลหิตของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ
-ไตทำหน้าที่ควบคุมและสร้างฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด
-ไตทำหน้าที่ควบคุมความแข็งแรงของกระดูก
สาเหตุใดทำให้ไตเสื่อมเร็วกว่าปกติ...
ไตจะเสื่อมลงจั้งแต่อายุ 30 ปี ซึ่งเป็นความเสื่อมของร่างกายจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่มีปัจจัยหลายอย่างทำให้ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็วและก่อนวัยอันควร เช่น กรรมพันธุ์ การมีเพศสัมธ์มากเกินควร ประสบอุบัติเหตุ ทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ ผลกระทบจากโรคเรื้อรังต่างๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงในชีวิตประจำวันก็มีผลให้ไตเสื่อม เช่น ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเคมี เช่น ยาแก้ปวด ยารักษาสิว ยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะ ยาลดความอ้วน ยาลดความดัน ฮอร์โมนทดทนแทน เป็นต้น ความเครียด มลภาวะเป็นพิษ ยาฆ่าแมลงที่ตกค้างในผักผลไม้ สารฮอร์โมนที่สะสมในเนื้อสัตว์ อาหารทะเลที่แช่ฟอร์มาลิน หรือได้รับสารปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม สารโซเดียมที่ผสมอยู่ตามอาหารขนมขบเคี้ยวและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เช่นผงชูรส ผงฟู อาหารรสจัด รสเค็ม อาหารและเครื่องดื่มที่ผสมสี ฯลฯ
ปัจจัยดังกล่าวล้วนทำให้ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็วและก่อนวัยอันควร เราจึงพบบ่อยว่าหลายๆ คนแม้อยู่ในวัยหนุ่มสาว แต่ก็มีอาการภาวะไตอ่อนแออย่างครบครันเช่นเดียวกัน
ภาวะไตอ่อนแอจะแสดงอาการอื่นๆ อย่างไร...
ภาวะไตอ่อนแอจะแสดงอาการหลากหลายตามระบบต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจแสดงอาการใดอาการหนึ่งหรือหลายๆ อาการพร้อมกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความเสื่อมโทรมของไต อายุและระยะเวลาเรื้อรัง
1.ระบบทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืน ปัสสาวะกะปริดกะปรอย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ บวมน้ำตามร่างกาย ฯลฯ
2.ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ปวดหลัง ปวดเอว แขนขาอ่อนแรงลง เป็นตะคริวบ่อย หนาวหรือชาตามปลายมือปลายเท้า ปวดตามข้อ กระดูกพรุน โรคต์ ฯลฯ
3.ระบบประสาท นอนไม่หลับ ฝันบ่อย เวลานอนแขนนขากระตุกหรือสะดุ้งตื่นเป็นประจำ หรือฝันว่าตกจากที่สูงจนตกใจตื่นเป็นประจำ ขี้หลงขี้ลืม ขาดสมาธิ วิงเวียน ปวดศีรษะ ซึมเศร้า วิตกกังวล อ่อนเพลียเรื้อรัง ขี้หนาว ฯลฯ
4.ระบบทางเดินอาหาร เบื่ออาหารและลำไส้แปรปรวน อุจจาระร่วงเป็นประจำ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ฯลฯ
5.ระบบภูมิต้านทาน เป็นหวัดบ่อยหรือเป็นหวัดง่าย ลมพิษ สะเก็ดเงิน เริม SLE ฯลฯ
6.ระบบทางเดินหายใจ ระคายคอบ่อย ไอเรื้อรัง หอบหืด ฯลฯ
7.ระบบสืบพันธุ์ หย่อนสมรรถภาพทางเพศหลั่งเร็ว ประจำเดือนมาผิดปกติ ช่องคลอดไม่กระชับ มีบุตรยาก หรือแท้งบุตร เข้าสู่วัยทองก่อนวัยอันควร ฯลฯ
8.สภาพร่างกายภายนอก ผิวหน้าหมองคล้ำ หยาบกร้าน มีฝ้าบนใบหน้า ใต้ตาหมองคล้ำ หน้าอกหย่อนยาน ผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย น้ำหนักขึ้นหรือลงอย่างฮวบฮาบ ฯลฯ
9.หู-ตา หูอื้อ ตาพร่า น้ำในหูไม่เท่ากัน ฯลฯ
สำหรับอาการต่างๆ ที่เกิดจากภาวะไตอ่อนแอ การแพทย์จีนแนะนำควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้ถูกสุขลักษณะ และควรรักษาแต่เนิ่นๆ เนื่องจากอาการของภาวะไตอ่อนแอมักจะเรื้อรังอย่างช้าๆ จนเราคุ้นเคยกับสิ่งผิดปกติของร่างกาย ถึงขนาดลืมไปแล้วว่าตอนปกติจริงๆ นั้นเป็นอย่างไร นอกจากนี้ผลการตรวจการทำงานของไตตามหลักการแพทย์ตะวันตกที่ต้องรอให้ไตเสียไปมากกว่า 70% ถึงจะแสดงค่า BUN และ Creatinine ที่สูงขึ้นนั้นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจผิด และชะล่าใจว่าถ้าผลการตรวจยังปกติอยู่ก็แสดงว่า ไตยังแข็งแรง ทั้งๆ ที่ไตอาจจะเสื่อมไปมากแล้วก็ตาม วิธีการรักษาของการแพทย์จีนจะเน้นการบำรุงรักษาไตเป็นหลักเพื่อบำบัดหลายๆ อาการของภาวะไตอ่อ่นแอไปพร้อมๆ กัน ทั้งที่แต่ละอาการดูเหมือนจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในมุมมองของการแพทย์ตะวันตกก็ตาม เมื่อไตแข็งแรงขึ้นอาการของภาวะไตอ่อนแอทั้งหลายก็จะค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด
ธุรกิจเครือข่ายจ่ายมากที่สุด |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น